การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก
การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก
และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากเต้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่คุณแม่อาจมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีปั๊มนมและวิธีเก็บนมไว้ให้ลูกน้อย ไม่ว่าคุณจะเป็นคุณแม่ในช่วงให้นมลูก ที่ต้องการความยืดหยุ่นของเวลา ไม่มีเวลาเพียงพอ ต้องกลับไปทำงาน หรือต้องเดินทางบ่อย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร การเรียนรู้วิธีเก็บนมแม่ จะช่วยได้มาก สิ่งที่ต้องรู้ก่อนก็คือ วิธีเก็บนมแม่ ไม่ใช่ว่าจะเก็บได้เหมือนอาหารทั่วไป แต่คุณจะต้องรู้วิธีการเก็บนมแม่อย่างถูกวิธีไม่เช่นนั้นน้ำนมแม่ที่่อุตส่าห์ปั๊มออกมาอาจเสียได้ง่ายๆ
วิธีเก็บนม | อุณหภูมิ (โดยประมาณ) | อายุของนมแม่ |
1. เก็บในอุณหภูมิห้อง (นอกห้องแอร์) | สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส | ไม่เกิน 1 ชั่วโมง |
2. เก็บในอุณหภูมิปกติ (ในห้องแอร์) | ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส | 4 ชั่วโมง |
3. เก็บในกระติกน้ำแข็ง | ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส | สูงสุด 24 ชั่วโมง |
4. เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา | 2-4 องศาเซลเซียส | 2-5 วัน (เก็บไว้ใกล้บริเวณจุดที่เย็นที่สุด) |
5. เก็บนมในช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูเดียว | -10 ถึง -15 องศาเซลเซียส | 2 สัปดาห์ |
6. เก็บนมในช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูแยก | -18 ถึง -20 องศาเซลเซียส | 3 เดือน |
7. เก็บนมในตู้แช่แข็ง | ต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส | 6 เดือน |
* ไม่ควรเก็บในที่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส
Sources:
https://www.unicef.or.th/breastfeeding/workplace/for-mom/articles/how-to-store-breast-milk
https://www.womenshealth.gov/breastfeeding/pumping-and-storing-breastmilk
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/news-announce-info.php?num=333
ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.