การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและปริมาณธาตุเหล็กที่ลูกน้อยควรได้รับ

ตัวอย่างอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น นมเสริมสารอาหาร, เนื้อสัตว์, เครื่องในสัตว์, ผักใบเขียว, อาหารทะเล และอื่นๆ

 

ถึงแม้เราคิดว่าได้รับธาตุเหล็กเพียงพอแล้ว 

ก็ยังมีความจำเป็นต้องทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวันตามช่วงวัย เพราะธาตุเหล็กเป็นสารอาหารจำเป็นที่ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้นและธาตุเหล็กที่สะสมไว้ใช้ในร่างกายมีปริมาณจำกัด

  • รับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก ที่อยู่ในรูปองค์ประกอบของฮีม ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ เลือด ตับ เครื่องในไก่ ปลา กุ้ง และหอย เป็นต้น
  • ควรรับประทานเนื้อสัตว์วันละ 6-12 ช้อนกินข้าว เนื่องจากเนื้อสัตว์ต่างๆ นอกจากมีธาตุเหล็กสูงแล้ว ยังมีผลทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารอื่นดีขึ้น
  • ถ้ารับประทานไข่ โดยเฉพาะไข่แดง ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีร่วมด้วย จะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กในไข่แดงได้มากขึ้น
  • ควรรับประทานผลไม้วันละ 3-5 ส่วน โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมจากอาหารได้มากขึ้น
  • ควรรับประทานผักผลไม้สด เพราะการใช้ความร้อนในการประกอบอาหารจะทำลายวิตามินซีได้
  • ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง ซึ่งพบมากในตับ ไข่ ฟักทอง แครอท มะละกอสุก และมะม่วงสุก เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง ร่วมกับอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก จะช่วยทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กที่ไม่ใช่ฮีมได้ดีขึ้น

 

ปริมาณธาตุเหล็กที่ควรได้รับในแต่ละวันของเด็กในช่วงอายุต่างๆ

 

กลุ่มเด็กปฐมวัย

ความต้องการธาตุเหล็กสำหรับการเจริญเติบโตนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัย ในช่วง 4-6 เดือนแรกของชีวิตทารกจะอาศัยธาตุเหล็กที่สะสมในร่างกายตั้งแต่ในระยะที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา ร่วมกับธาตุเหล็กจากน้ำนมแม่ ทารกแรกเกิดมีปริมาณฮีโมโกลบินสูง เมื่อคลอดแล้วทารกจะหยุดสร้างเลือดเป็นเวลา 6-8 สัปดาห์ เมื่ออายุเกิน 2 เดือนจึงเริ่มสร้างเลือด โดยใช้ธาตุเหล็กที่สะสมไว้ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์ หากไม่ได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเลย ธาตุเหล็กจะถูกใช้หมดเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน การได้รับธาตุเหล็กจากน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ทารกอายุ 6 เดือน – 2 ปี จึงควรได้รับอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก

 

กลุ่มเด็กวัยเรียน

เนื่องจากการเจริญเติบโตของเด็กวัยเรียนเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตด้วยอัตราเร่ง (growth spurt) ในระยะนี้ร่างกายจะมีการสร้างเม็ดเลือดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ปริมาณของเลือดเพียงพอกับการขยายตัวของพลาสม่า เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน ดังนั้นธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย และมีผลต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา

คำแนะนำในการจัดอาหารทารก

  1. ทารกอายุ 6 เดือน เริ่มให้อาหารทีละอย่าง ครั้งละ 1-2 ช้อนชา และเว้นระยะ 2-3 วัน ก่อนเริ่มให้อาหารชนิดใหม่ เพื่อดูการยอมรับอาหารและอาการแพ้อาหาร
  2.  ความหยาบของอาหาร เริ่มจากอาหารบดละเอียด ค่อยๆเพิ่มความหยาบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพื่อฝึกการเคี้ยวและกลืนอาหาร
  3. เพิ่มปริมาณอาหารให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำ โดยจำนวนมื้ออาหารที่อายุ 6-7 เดือน อาจแบ่งกิน 2-3 มื้อ เพื่อให้ได้ปริมาณรวมตามที่แนะนำ
  4.  จัดอาหารแต่ละกลุ่มให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ได้สารอาหารเพียงพอและสร้างความคุ้นเคย
  5. ในแต่ละมื้อควรมีกลุ่มเนื้อสัตว์และผักที่อ่อนนุ่ม กลิ่นไม่แรง
  6.   ควรให้ได้ตับอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 มื้อ
  7. เมื่อเด็กกินอาหารวันละ 3 มื้อ ควรให้กินไข่ ไม่เกินวันละ 1 มื้อ ส่วนอีก 2 มื้อ เป็นเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ
  8.  ควรให้เด็กเรียนร็รสอาหารตามธรรมชาติ ไม่ควรปรุงแต่งรสอาหาร
  9. เน้นความสะอาดและปลอดภัยของวัตถุดิบและภาชนะที่ใช้ปรุงและใส่อาหาร
  10.  ติดตามการเจริญเติบโตทั้งส่วนสูงและน้ำหนักทุก 3 เดือน
ตัวอย่างปริมาณแร่ธาตุในอาหารชนิดต่างๆ ตามวัย

เรื่องราวอื่นๆ ที่คุณอาจจะสนใจ

เคล็ดลับน่ารู้

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x