การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

อาหารเสริมระยะสุดท้ายก่อนลูกน้อยครบ 1 ขวบ

อาหารเสริมระยะสุดท้ายก่อนเด็กทารกครบขวบปีแรก


เมื่อลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยใกล้ 1 ขวบ เขาจะยิ่งสามารถรับประทานอาหารหยาบได้มากขึ้น อาจเรียกได้ว่าช่วงนี้จะเป็นการให้อาหารเสริมแรกเริ่มสำหรับทารกน้อยในระยะสุดท้ายก็ได้ค่ะ

ในระยะนี้ คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นพัฒนาการที่มากขึ้น ได้แก่ การนั่งบนเก้าอี้สูงที่โต๊ะ และกินอาหารร่วมกับครอบครัว ลูกน้อยจะใช้ช้อนได้แล้ว และพยายามกินอาหารด้วยตัวเอง เขาจะลองกินอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบแข็งมากขึ้น และเคี้ยวอาหารหยิบกินเล่นได้ รวมทั้ง เริ่มดื่มจากถ้วยได้โดยมีคนช่วยนะคะ

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเสริมให้การกินอาหารเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีสำหรับลูกรักในวัยนี้ได้ เช่น

  • ทำให้การกินอาหารเป็นช่วงเวลาที่แสนสนุกสำหรับลูกรัก ใช้ช่วงเวลาการกินอาหารนี้ในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัวเขา และเร้าความสนใจเกี่ยวกับอาหาร
  • ปล่อยให้ลูกได้ทดลองเล่นกับอาหาร แม้ว่าจะลงเอยด้วยความเลอะเทอะ เปรอะเปื้อนบนพื้นห้องก็ตามนะคะ คุณแม่ควรทราบว่าความอยากอาหารของลูกน้อยก็เหมือนผู้ใหญ่นะคะ แต่ละมื้อและแต่ละวันอาจเปลี่ยนแปลง อยากกินบ้าง ไม่อยากบ้าง หรืออยากลองของใหม่ๆ
  • คุณแม่ต้องอดทนถ้าลูกน้อยกินอาหารได้น้อยลง หรือปฏิเสธไม่กินอาหารนะคะ เนื่องจาก ช่วงนี้ฟันน้ำนมที่ขึ้นและเหงือกที่บวม จะทำให้รู้สึกเจ็บเวลากินอาหาร คุณแม่อาจให้ลูกน้อยเคี้ยวของเย็นๆ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บได้ค่ะ
  • ลูกน้อยอาจไม่ชอบอาหารหยาบแข็งเป็นก้อน หรือไม่ชอบเนื้อสัมผัสอาหาร หรือกลิ่นรสบางอย่าง สลับให้ลูกกินอาหารที่เค้าชื่นชอบก่อนนะคะ แล้วค่อยลองให้กินอาหารใหม่อีกครั้งหลังจากผ่านไปแล้ว 2-3 วัน

ปริมาณและการให้อาหารเด็กทารกวัยนี้

แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ วันละ 3 มื้อ โดยมีอาหารว่าง และนมระหว่างมื้ออาหาร

ความหยาบของอาหาร สามารถให้อาหารบด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆหรือสับละเอียด มีขนาดพอดีคำ หั่นเป็นลูกเต๋าหรือหั่นเป็นชิ้นยาวๆเอาให้ลูกถือและเคี้ยวเล่น

กินนม (นมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารก) วันละ 3-4 ครั้ง โดยเฉลี่ย รวมวันละ 25-30 ออนซ์

ให้อาหารประเภทแป้งวันละ 3-4 ครั้ง เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น หรือมันฝรั่ง

พืชผักผลไม้ที่คละสีสัน มีความหยาบ/ละเอียด และกลิ่นรสเพื่อให้มีความหลากหลาย เช่น ผักผลไม้หั่นนิ่มที่สามารถถือทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม เป็นต้น

อาหารที่มีโปรตีนสูงแต่อ่อนนุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนสลับกันไป

ความหยาบของอาหารเสริมเป็นลักษณะที่เหมาะกับวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่ดีค่ะ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และช่วยให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยลูกน้อยด้วยการฝึกเรียนรู้จากการทานอาหารเสริมแรกเริ่ม ซึ่งเป็นการสร้างนิสัยที่ดีให้กับลูกน้อยนะคะ

นอกจากนี้ เรายังมีตาราง*ปริมาณอาหารที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วันสำหรับทารกมาฝากด้วยค่ะ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการเสริมอาหารให้ลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมนะคะ

    ความหยาบ/ละเอียดนมข้าวไข่เนื้อสัตว์ผักผลไม้ไขมัน
    อาหารบด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆหรือสับละเอียด
    มีขนาดพอดีคำ หั่นเป็นลูกเต๋าหรือหั่นเป็นชิ้นยาวๆเอาให้ลูกถือและเคี้ยวเล่น
    วันละ 4-5 ครั้งหรือ ประมาณ 25-30 ออนซ์ข้าวหุงนิ่ม 5 ช้อนกินข้าวไข่ทั้งฟองและเนื้อสัตว์ต่างๆ บด 2 ช้อนกินข้าว (เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่) หรือ ตับ 1 ช้อนกินข้าวผักหั่น 2 ช้อนกินข้าว (พืชผักกลิ่นรสแรงมากขึ้น (เช่น ต้นหอม บร็อคโคลี) ถั่วลันเตา มะเขือเทศ พืชผักที่มีลักษณะเป็นแท่ง เช่นแครอท)ผลไม้สุก 3-4 ชิ้น เช่น มะละกอสุก 3 ชิ้น หรือ กล้วยน้ำว้าสุก 1 ผล หรือ ส้ม 1 ลูกใช้น้ำมันพืช 1 ช้อนชา ทำให้ความหยาบของอาหารมีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้างจนเกินไป เพื่อให้ทารกฝึกทักษะการเคี้ยวและกลืน


    *ที่มา- กองโภชนาการ กระทรวงสาธารณะสุข กินตามวัยให้พอดี

    Careline Footer

    Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

    ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

    x