การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

ลูกน้อยแรกเกิดและกิจวัตรประจำวัน

เด็กทารกแรกเกิดต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน

เด็กแรกเกิด...ต้องการอะไร?

สำหรับเด็กแรกเกิด สิ่งสำคัญที่สุดคือการกินและนอนเต็มอิ่ม หิวก็จะร้อง ง่วงก็จะร้อง ถ้าได้สองเรื่องนี้ครบถ้วนก็สบายใจหายห่วง ดังนั้น เด็กแรกเกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก เป็นช่วงที่ควรพยายามปรับเรื่องการกินและนอนให้ลงตัว รวมถึงดูว่าลูกต้องการสิ่งใด การสร้างกิจวัตรประจำวันทั้งในเรื่องการกิน และนอนจะทำให้ชีวิตต่อจากนี้อีกหลายๆ เดือนง่ายขึ้น

กิจวัตรเลี้ยงเด็กแรกเกิดด้วยนมแม่

การเลี้ยงเด็กแรกเกิดด้วยนมแม่เป็นขั้นตอนที่ต้องเรียนรู้สำหรับทุกคน และจะเปลี่ยนแปลงไปทุกๆวันพร้อมกับการเจริญเติบโตของลูกน้อย คุณแม่ควรให้ลูกน้อยเป็นคนกำหนดเวลาการกินนม และส่งเสริมให้กินนมแม่เป็นกิจวัตรประจำวัน

วันที่ 1: ลูกน้อยแรกเกิดอาจดูกระตือรือร้นที่จะกินนมหลังคลอดออกมาแล้ว 1-2 ชั่วโมง แล้วไม่ค่อยสนใจมากนักหลังจากนั้น คุณจึงควรกระตุ้นให้เขาดูดนมหลายๆ ครั้งตลอดทั้งวัน

วันที่ 2: ควรให้ทารกแรกเกิดดูดนมทุกๆ 1.5 ถึง 3 ชั่วโมง โดยดูดนม 8 ถึง 12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง แต่ไม่ต้องกังวลใจหากไม่สามารถทำตามข้างต้นได้

วันที่ 3-4: น้ำนมของคุณจะเริ่ม "ไหล" จะรู้สึกได้ว่าลูกพึงพอใจมากขึ้นหลังดูดนม และอาจสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผ้าอ้อมของลูกด้วย

วันที่ 5–28: พอมาถึงช่วงนี้ ทารกแรกเกิด จะเริ่มดูดนมง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ควรให้ลูกดูดนม 8 ถึง 12 ครั้งตลอด 24ชั่วโมงเป็นเวลา 10 - 30 นาทีต่อครั้ง ลองทำแผนภูมิด้วยการลงเวลาทุกชั่วโมงตั้งแต่เที่ยงคืนถึงห้าทุ่มไว้ในแนวดิ่งด้านหนึ่ง แล้วใส่วันในรอบหนึ่งสัปดาห์ในแนวขวางด้านบน ทำเครื่องหมายที่แผนภูมิตรงตำแหน่งวันเวลาที่คุณให้ลูกกินนม คุณสามารถเพิ่มคอลัมน์สำหรับวันที่ลูกฉี่หรืออึด้วย หลังจากนั้นไม่นาน คุณจะเห็นรูปแบบพฤติกรรมการกินที่ช่วยให้คุณเข้าใจกิจวัตรของลูก

ความต้องการนอนหลับพักผ่อนของเด็กทารกแรกเกิด

  1. ทารกแรกเกิดจะนอนเป็นช่วงๆตลอดทั้งวัน เดี๋ยวหลับเดี๋ยวตื่นอาจทำให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยเครียดได้ แต่คุณไม่ต้องกังวล เพราะมีหลายอย่างที่คุณทำได้เพื่อให้เรื่องนี้ง่ายขึ้น
  2. ลูกน้อยต้องการเวลานอนสั้นๆ ตลอดทั้งวัน แต่ไม่ควรปล่อยให้นอนหลับเกิน 2 ชั่วโมง และคุณควรใช้เวลาที่มีค่าระหว่างที่ลูกนอนหลับในการนอนพักด้วย
  3. คุณแม่สามารถกล่อมลูกน้อยให้หลับได้ในเวลาที่เหมาะสมหากเฝ้าสังเกตและจดจำอาการอยากนอนของลูกได้
  4. เมื่อถึงเวลาให้ลูกน้อยเข้านอนตอนกลางคืน ให้ปิดผ้าม่าน ลดเสียงรบกวนต่างๆและเล่นให้น้อยที่สุด เปิดไฟหัวเตียงแทนไฟกลางห้อง การอาบน้ำแล้วเล่านิทานให้ฟังก่อนเข้านอนทุกวันจะช่วยให้ลูกน้อยจดจำว่าสิ้นสุดเวลากลางวันแล้ว และกำลังเริ่มต้นช่วงเวลากลางคืน

การสัมผัสเด็กแรกเกิด

การนวดสัมผัสเด็กแรกเกิดเบาจะช่วยให้ลูกหลับได้ง่ายขึ้น นอกจากจะให้ลูกน้อยแรกเกิดของคุณผ่อนคลาย อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ทางใจระหว่างคุณกับลูก พ่อแม่ควรเริ่มต้นนวดอย่างอ่อนโยน ลูกจะแสดงอาการให้คุณทราบถ้ารู้สึกไม่สบายตัว แต่เด็กแรกเกิดมักจะเผลอหลับไประหว่างการนวด ดังนั้น จึงควรนวดให้ลูกก่อนเวลานอนหรือหลังอาบน้ำเสร็จใหม

เด็กแรกเกิดร้องไห้เพราะสาเหตุอะไรบ้าง

ในชีวิตประจำวันของเด็กทารกแรกเกิด ไม่มีอะไรมาก ส่วนใหญ่จะมีแค่ กินและนอน และการร้องไห้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรรำคาญ แต่ควรถือเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งกับพ่อและแม่ ว่าลูกกำลังต้องการบางอย่าง หรือกำลังมีบางอย่างผิดปกติ ไม่พอใจ ซึ่งอาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ ซึ่งเรียงจากลำดับความเป็นไปได้มากที่สุด:

  1. เด็กหิวนม
  2. ง่วง อยากนอน
  3. หนาว หรือร้อน ไม่สบายตัว
  4. ไม่มีสาเหตุ แค่ต้องการให้ดูแล กอด อุ้ม
  5. เพิ่งถ่าย และต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม
  6. มีแก๊สในกระเพาะ อยากเรอ
  7. ไม่สบาย หรือป่วย (ร้องไห้นานไม่หยุด)

เรื่องพัฒนาการเด็กน่าสนใจอื่นๆ

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x