การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

คุณแม่ท้องกับอาการบวมตามร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม


ถ้าแม่ตั้งครรภ์เคยสังเกตตัวเองว่ามีอาการบวมตามร่างกาย และเป็นการบวมโดยเฉพาะส่วนล่างของร่างกาย เช่น ข้อเท้า และเท้า ดังนั้นอย่ากังวลไป เพราะอาการแบบนี้เป็นอาการที่พบบ่อยระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ

ประมาณ 75% ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด จะมีอาการบวมลักษณะนี้นะคะ แต่อย่างไรก็ตาม การบวมอาจเป็นอาการเบื้องต้นของภาวะร้ายแรงที่เรียกว่า โรคความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ (Pregnancy-Induced Hypertension – PIH) ก็ได้ค่ะ จึงเป็นอาการที่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง และไม่ควรมองข้ามระหว่างการตั้งครรภ์ค่ะ

    อาการบวมบริเวณข้อเท้า เท้า และบางครั้งมือ คอ และใบหน้า เกิดขึ้นเนื่องมาจาก

    1. การที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น และปริมาณเลือดที่ไหลเวียนก็เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
    2. มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกดทับหลอดเลือดดำใหญ่ (vena cava) ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดจากปอดกลับไปสู่หัวใจ

    ด้วยสาเหตุทั้ง 2 ที่กล่าวไป ทำให้การไหลเวียนของเลือดน้อยลง และเลือดเอ่อขังเป็นหย่อมๆ ความดันที่เกิดจากเลือดคั่งนี้ทำให้ น้ำถูกไล่ออกไปคั่งอยู่ภายในเนื้อเยื่อ บริเวณเท้าและข้อเท้า เป็นผลทำให้เกิดการบวมในบริเวณร่างกายดังกล่าวค่ะ

    โดยข้อเท้าและเท้าที่บวม อาจทำให้คุณแม่รู้สึกว่ารองเท้าคับเกินไป โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนหรือยืนนาน แต่ข่าวดี ก็คือ ปกติอาการบวมนี้จะหายไปเกือบหมด ไม่นานหลังคลอดเสมอนะคะ

    2 วิธีการรักษาอาการบวม

      1. คุณแม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ ตลอดเวลานะคะ อย่านั่งหรือยืนนานเกินไป ควรเคลื่อนไหวไปมาทุกชั่วโมงเพื่อป้องกันไม่ให้ของเหลวคั่งค้าง ออกกำลังบริเวณเท้าและน่องขณะกำลังนั่ง เพื่อช่วยให้หลอดเลือดดำลำเลียงเลือดกลับไปสู่หัวใจและลดอาการบวมได้ค่ะ
      2. ควรเลิกใส่รองเท้าส้นสูง สวมรองเท้าส้นเตี้ยที่สวมใส่สบายกว่าแทนนะคะคุณแม่ และอาจลองใช้ถุงน่องซัพพอร์ทที่ช่วยควบคุมไม่ให้บวมมากขึ้นก็ได้ค่ะ

      นอกจากนี้คุณแม่สามารถตรวจสอบความดันโลหิตร่วมด้วยนะคะ หมั่นสังเกตอาการและรีบไปปรึกษาคุณหมอ หากคุณรู้สึกว่าอาการบวมนั้นผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีอาการผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ด้วยนะคะ

      Careline Footer

      Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

      ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

      x