การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษคืออะไร?

ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงตั้งครรภ์หรือเกิดขึ้นทันทีหลังคลอดส่วนใหญ่แล้วมักมีอาการไม่รุนแรง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดจากความบกพร่องของรกทำให้เป็นอุปสรรคต่อการลำเลียงเลือดและสารอาหารไปยังลูกในครรภ์ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเติบโตของลูกในครรภ์ได้

ครรภ์เป็นพิษ...มีอาการอย่างไร?

ในระยะเริ่มแรกนั้นจะไม่มีให้สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนแต่สามารถทราบได้จากการตรวจครรภ์ หากพบความดันเลือดสูงระดับโปรตีนในปัสสาวะ และปัญหาการไหลเวียนเลือด เช่น การบวมน้ำก็อาจเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้

แต่ความดันเลือดสูงและอาการบวมที่ไม่มากนักเกิดขึ้นได้และไม่ได้บ่งเป็นปัญหาที่รุนแรงเสมอไป นอกจากนี้ระดับโปรตีนในปัสสาวะก็อาจเกิดจากการติดเชื้อดังนั้นจึงยากที่จะชี้ชัดถึงภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงเริ่มต้น

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการต่อไปนี้ในระยะต่อมาของการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทันที

  • ปวดศีรษะรุนแรง ตาพร่ามัว หรือเห็นแสงเป็นจุดๆหรือแสงวูบวาบร่วมด้วย
  • จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • บวมตามใบหน้า มือ ข้อเท้า และเท้า
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไปอย่างรวดเร็ว

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษมากที่สุด?

หญิงมีครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงกว่าคนอื่นๆคือ

  • อายุ– ตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปีหรือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • น้ำหนัก– อ้วนเกินไป หรือมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 ขึ้นไป
  • โรคประจำตัวในปัจจุบัน– เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus)โรคไต และไมเกรน
  • เพิ่งตั้งครรภ์ครั้งแรกรวมครรภ์แรกกับคู่สมรสคนใหม่ด้วย
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์– ตั้งครรภ์ลูกคนที่สองห่างจากครรภ์แรกมากกว่า 10 ปี
  • ประวัติการมีภาวะครรภ์เป็นพิษ– คุณหรือมารดาหรือพี่สาว/น้องสาวของคุณเคยมีภาวะนี้มาก่อน  

ป้องกันได้อย่างไร?

  • ดูแลตัวเองอย่าให้อ้วน รับประทานอาหารอย่างสมดุลและถูกสุขลักษณะสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ควรไปตรวจครรภ์ตามนัดเป็นประจำทุกครั้งเพื่อตรวจความดันเลือดและตรวจปัสสาวะซึ่งเป็นการตรวจเช็คอาการครรภ์เป็นพิษ

คุณสามารถขอคำแนะนำเรื่องอาหารที่ควรรับประทานจากสูติแพทย์หรือสนทนาออนไลน์กับทีมงานผู้เชี่ยวชาญของเรา

ครรภ์เป็นพิษที่มีอาการเพียงเล็กน้อย..ทำอย่างไร?

ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยอาจไม่จำเป็นต้องรักษาแต่ต้องตรวจร่างกายของคุณแม่และลูกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ บางรายอาจต้องกินยาหรืออาหารเสริมหากมีความดันเลือดต่ำซึ่งไม่ได้ป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษแต่เป็นการควบคุมอาการของภาวะดังกล่าวเท่านั้น

ครรภ์เป็นพิษที่มีความเสี่ยงสูง...ทำอย่างไร?

ให้คุณพักผ่อนมากๆ คุณอาจต้องนอนพักที่โรงพยาบาลเป็นครั้งคราวแพทย์จะตรวจความดันเลือดและทำอัลตร้าซาวนด์อย่างสม่ำเสมอเพื่อดูพัฒนาการของลูกในครรภ์หากอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แพทย์อาจฉีดยาเร่งคลอดให้แก่คุณเพื่อชักนำให้เกิดอาการเจ็บครรภ์คลอด  หรือทำคลอดให้คุณด้วย การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเปิดดูได้ที่เว็บไซต์Pre-eclampsia Foundation หรือโทรติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x