การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก
การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก
และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้
เมื่อพูดถึงอาหารเสริมสำหรับเด็กหรือทารกน้อย คุณแม่มักจะมีข้อสงสัยว่าควรจะเริ่มให้อาหารเสริมได้เมื่อไรใช่ไหมคะ ตามที่คุณแม่ทราบดีอยู่แล้ว นมแม่นั้นดีที่สุดสำหรับทารก แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยที่ต้องมีการเสริมอาหาร คุณแม่ก็จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะค่อยๆ ฝึกให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริมอย่างถูกต้อง เพื่อเขาจะได้มีพัฒนาการด้านโภชนาการที่เหมาะสมเมื่อลูกน้อยเติบโตขึ้น อาหารเสริมสำหรับเด็กก็คืออาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็กแต่ละวัยนั่นเอง
โดยทั่วไป ทารกจะพร้อมลองอาหารที่หยาบขึ้น นอกเหนือจากนม ราวๆ อายุ 6 เดือนค่ะ ซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาการเด็กที่เริ่มนั่งได้เอง คอตั้งตรงมั่นคง ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อมือ และตาทำงานประสานกันดี ซึ่งอาจจะช้าเร็วต่างกันออกไปในทารกแต่ละคนนะคะ ลองสังเกตดูความพร้อมของลูกน้อยได้จากท่าทีของลูก ว่าลูกเริ่มสนใจอาหารที่คุณกำลังกินอยู่ หรือดูหิวมากขึ้นในระหว่างมื้ออาหารก็ได้ค่ะ
คุณแม่สามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมของวัน อาจเป็นมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน เพิ่มจากการทานนมปกติของลูก และมื้อนมของลูกจะลดลงเป็นสัดส่วนกับมื้ออาหารตามวัยที่เพิ่มขึ้นนะคะ
ควรเริ่มจากอาหารที่บดละเอียด เริ่มให้อาหารทีละอย่าง และเปลี่ยนอาหารชนิดใหม่ทีละอย่างทุก 2-3 วัน เช่น คุณแม่อาจ เริ่มจากอาหารเสริมเด็กประเภท คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวสวยบดผสมน้ำซุป เมื่อดูแล้วว่าร่างกายลูกรับข้าวได้แล้ว จึงค่อยเพิ่มชนิดอาหารไปพร้อมกับข้าวบดทีละชนิด และสังเกตความเปลี่ยนแปลง เช่น ข้าวบดกับผักกาดขาว หรือข้าวบดกับตำลึง เมื่อลูกทานอาหารได้ดี จึงเติมเนื้อสัตว์อื่น เช่น ไข่แดง ตับ ปลา เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้ครบ 5 หมู่ค่ะ
การให้ลูกได้รู้จักอาหารเสริมเด็กทีละชนิดนั้น ก็เพื่อให้คุณแม่สังเกตระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย หรือผิวหนังของลูกว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร เช่น จากการแพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกมีเวลารับรู้และชื่นชอบกลิ่นรสชาติใหม่ๆ และความหยาบ/ละเอียดของอาหารแปลกใหม่
คุณแม่ควรใส่ใจกับความหยาบ/ละเอียด ความข้นหนืด และปริมาณของอาหารเสริมที่ป้อนให้ลูกน้อยทาน ควรเริ่มทีละน้อยด้วยการป้อนอาหารบดเหลวผสมนมแม่ หรือน้ำซุปครั้งละ 1-2 ช้อนชา และค่อยๆ เพิ่มขนาดบริโภคและความหยาบของอาหารเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และเมื่อลูกสามารถทานอาหารหยาบได้มากขึ้น จึงค่อยๆ เพิ่มมื้ออาหาร จาก 1 มื้อ เมื่ออายุ 6 เดือน เป็น 2 มื้อ เมื่ออายุ 8 เดือน และ เป็น 3 มื้อเมื่ออายุ 9 เดือน ตามลำดับนะคะ
บางครั้งลูกน้อยอาจจะปฏิเสธ เพราะไม่คุ้นเคยหรือไม่ชอบ ควรเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วลองให้ลูกลองทานอีกครั้งนะคะ ไม่ควรบังคับให้ลูกทานอาหาร เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับอาหารและการทานอาหาร ควรสังเกตอาการท่าทางของลูกที่แสดงว่าพอแล้วหรืออยากทานเพิ่ม
นอกจากนั้น คุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกทานอาหารด้วยตัวเอง และหยิบอาหารกินเองเมื่อลูกแสดงความสนใจและสามารถทำเองได้ เช่น ให้ลูกถืออาหารที่ไม่แข็งทานเอง เช่น ฟักทองนึ่ง มันต้มที่หั่นเป็นชิ้นยาว เมื่ออายุ 8-9 เดือน แต่ต้องระวังไม่ให้ลูกทานอาหารที่มีลักษณะกลม ลื่นและแข็ง เช่น เช่น องุ่น ลูกชิ้นปลา และเนื้อสัตว์หั่นเป็นลูกเต๋า โดยเฉพาะผลไม้ที่มีเม็ดนะคะ เพราะมีโอกาสที่จะทำให้ลูกสำลักได้ค่ะ
ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.