การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก
การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก
และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้
สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนแล้ว ก็ไม่ต่างจากที่ผ่านมา น้ำนมแม่ยังคงเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญต่อลูกไม่เปลี่ยน แต่เนื่องจากการเจริญเติบโตที่มากขึ้น ตอนนี้พ่อแม่ต้องเริ่มให้ลูกน้อยรู้จักกับอาหารตามวัยนอกเหนือจากนมแม่ เพื่อให้ทันกับความต้องการพลังงานและสารอาหารที่เพิ่มขึ้นของเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไปนี้
เมื่อทารกอายุได้ 6 เดือน เขาควรจะได้เรียนรู้การเคี้ยวอาหารเป็นครั้งแรก ดังนั้นอาหารจานแรกจะต้องเป็นอาหารที่มีเนื้อนิ่ม ละเอียด เพื่อให้ง่ายต่อการเคี้ยวและกลืน อาหารที่เห็นกันบ่อยๆ เช่น ข้าวบด กล้วย โจ๊ก หรือ ผัก และผลไม้บด ถ้าเป็นอาหารแข็งก็ให้บดละเอียด เมื่อลูกสามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้ดีแล้ว
จากนั้นจึงค่อยเพิ่มความหยาบของอาหาร นอกจากนี้อาหารที่ให้กับทารกต้องไม่มีการปรุงรสชาติใดๆ ทั้งนี้เนื่องจากไตของทารกยังไม่สมบูรณ์พร้อมที่จะขับเกลือส่วนเกินออกจากร่างกาย ก็มีแม่หลายคนสามารถเอาอาหารบางชนิดผสมกับนมแม่ให้ลูกทาน เช่น ข้าว กล้วย ข้าวโอ๊ต เป็นต้น หลังจากล้างมือให้สะอาดแล้ว ให้เริ่มให้อาหารตามวัยวันละ 1 มื้อ มื้อละ 2-3 ช้อน สำหรับเด็ก 6 เดือน ท้องเด็กยังเล็ก ดังนั้นเขาจะยังไม่สามารถกินอาหารได้เยอะในแต่ละมื้อ แต่เมื่อโตขึ้น เขาจะเริ่มกินอาหารได้มากขึ้นตามลำดับ
สิ่งสำคัญสำหรับการให้อาหารกับเด็ก 6 เดือนคือ การเข้าใจว่านี่คือการได้ทานอาหารที่ไม่ใช่น้ำนมครั้งแรกในชีวิตของเด็ก ดังนั้นอาหารทุกอย่างคือสิ่งใหม่ ควรให้เวลากับลูกน้อยทำความเคยชิน พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูควรอดทน ใจเย็น อย่าบังคับเด็กให้กิน ต้องเรียนรู้ หาวิธีหลอกล่อให้กิน และคอยสังเกตดูสัญญาณว่าอิ่มหรือยัง ว่าเมื่อไหร่ควรหยุดทานอาหาร
เมื่อทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป นี่จะเป็นครั้งแรกที่คุณเริ่มให้อาหารตามวัยกับลูก ถ้าลูกให้สัญญาณพร้อม ก็สามารถให้อาหารแข็งกับมื้อหลักของวัน อย่างมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน ทั้งนี้ควรจะป้อนในมื้อเดิมเสมอ เพื่อให้ทารกจดจำมื้ออาหาร และร่างกายปรับตัวได้ดีแนะนำให้เริ่มให้อาหารตามวัยมื้อเดียวก่อนทีละอย่างทีละน้อยๆ และต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3 วัน หากทารกตอบสนองได้ดี และไม่แสดงอาการแพ้ใด ๆ คุณสามารถเริ่มการให้อาหารแข็งอื่นๆ ต่อไปได้
เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน ควรจัดอาหารให้มีความหลากหลาย ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับลูกน้อย เมื่อลูกอายุ 7 เดือนขึ้นไปค่อยๆเพิ่มความหยาบของอาหารเพื่อฝึกการเคี้ยวอาหารให้กับลูก ควรให้ลูกกินอาหารที่ไม่ปรุงแต่งรส ใช้วัตถุดิบและภาชนะที่สะอาดปลอดภัย
สำหรับเมนูอาหารเด็ก 6 เดือน คงไม่ดีแน่ ถ้าพ่อแม่เริ่มให้อาหารแข็งเมื่อลูกยังไม่พร้อม ต่อไปนี้ จะเป็นแนวทางบางส่วนจาก American Academy of Pediatrics เพื่อให้คุณสังเกตเห็นว่าเมื่อไหร่ลูกของคุณพร้อมกับอาหารแข็ง:
ต่อไปนี้ คือสารอาหารและแร่ธาตุที่เหมาะกับเด็ก 6 เดือน:
อาหารเด็ก 6 เดือนมีความสำคัญ การแพ้อาหารใด ๆ ในรูปแบบของอาการท้องเสีย, อาเจียน, ผื่น, อาการท้องผูกหรือปวดท้องอาจเป็นสาเหตุของความกังวล ดังนั้นหากมีอาการแพ้ให้หยุดอาหารที่ให้ลูกทันที ทั้งนี้ปฏิกิริยาการแพ้บางอย่างอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่นการหายใจลำบากให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ดังกล่าว
https://www.babycenter.com/baby/solids-finger-foods/age-by-age-guide-to-feeding-your-baby_1400680
https://www.unicef.org/parenting/food-nutrition/feeding-your-baby-6-12-months
https://parenting.firstcry.com/articles/6-month-old-baby-food-ideas-chart-recipes-and-feeding-tips/
ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.