การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

สารอาหาร และภูมิต้านทานในเด็ก?

สารอาหารซึ่งปกติมีอยู่ในอาหาร 5 หมู่ มีส่วนสำคัญในการรักษาระดับระบบภูมิต้านทานทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ การได้รับสารอาหารที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็มีผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป

เด็กทารกและเด็กเล็กสามารถติดเชื้อหรือมีอาการเจ็บป่วยต่างๆได้ง่ายกว่าเด็กโต คุณสามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้ลูกตั้งแต่ยังเล็กในเรื่องของสารอาหาร คุณแม่จะสามารถดูแลอย่างไรได้บ้าง เรามีคำถามจากคุณแม่ท่านอื่นๆ และคำตอบจากศาสตราจารย์ รานจิต คูมาร์ จันทรา ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภูมิต้านทานและโภชนาการดังนี้ค่ะ

ได้ยินมาว่าช่วงขวบปีแรก เด็กๆ สามารถรับเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายและเจ็บป่วยง่าย ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นคะ?

เด็กแรกเกิดนั้น ระบบภูมิต้านทานยังทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงปกป้องเชื้อโรคต่างๆได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ และอาจใช้เวลา 3-5 ปีเพื่อให้มีประสิทธิภาพเต็มที่เหมือนผู้ใหญ่

หลายๆครอบครัวเชื่อว่า เด็กอ้วนท้วนคือเด็กที่แข็งแรง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ เพราะจากการศึกษาพบว่าน้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือโรคอ้วนจะลดประสิทธิภาพของภูมิต้านทานของร่างกาย คุณหมอมีความคิดเห็นว่าอย่างไรคะ?
ถ้าลูกได้รับสารอาหารน้อยเกินไปจะมีผลเสียต่อการทำงานของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย แต่ถ้าได้รับมากเกินไปหรือเกิดโรคอ้วนก็ส่งผลเสียเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังส่งผลต่อการทำงานของร่างกายด้วย

สารอาหารบางประเภท เช่น โปรตีน วิตามินบี 6 และแอนตี้ออกซิแดนท์ (วิตามินเอ ซี อี สังกะสี ซีลีเนียม และเบต้าแคโรทีน) มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการเสริมสร้างภูมิต้านทาน และทำงานกันอย่างไรบ้าง?

สารอาหารแต่ละอย่างมีหน้าที่แตกต่างกันไป สารอาหารหลายๆตัวดังกล่าวรวมถึงธาตุเหล็กและวิตามินบี 6 มีส่วนสำคัญต่อเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบเมตาบอลิซึม สารอาหารอื่น เช่น ธาตุสังกะสี ก็มีส่วนสำคัญกับเอนไซม์ที่ทำงานเกี่ยวกับการทำงานของดีเอ็นเอ การแบ่งตัวของเซลล์ และโครงสร้างโปรตีนในร่างกาย ทั้งหมดนี้ล้วนมีบทบาทในระบบภูมิต้านทาน

มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้เด็กทารกและเด็กเล็กโดยการควบคุมอาหารอย่างไรบ้างคะ? มีคำ 3 คำที่สำคัญที่คุณแม่สามารถนำไปใช้ คือ

1. ความสมดุล (Balance)    อาหารต่างๆ ควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าครบทั้ง 5 หมู่
2. ความหลากหลาย (Variety)  อาหารแต่ละกลุ่มควรมีความหลากหลาย เช่น ผักและผลไม้ 2-3 ชนิด ย่อมดีกว่าการทานชนิดเดียวซ้ำๆ
3. ความพอเพียง (Moderation) ควรทานไม่น้อยและไม่มากเกินไป

เด็กเล็กมักจะเผชิญกับปัญหาการป่วยที่เรื้อรังกว่าเด็กโตและผู้ใหญ่ ปัจจุบันมีการโต้เถียงกันว่าวิตามินสามารถช่วยปกป้อง หรือช่วยให้เด็กหายป่วยได้เร็วขึ้น หากทานวิตามินซีมากๆ เช่น ทานผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี จะช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้เด็ก และทำให้เด็กๆ ห่างไกลจากไข้หวัดหรือไม่?

การทานผลไม้มากๆดีต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการทานวิตามินซี จริงๆแล้วลูกก็จะได้วิตามินซีที่มีอยู่ในอาหาร รวมถึงสารอาหารประเภทอื่นที่มีในผักต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรทานอาหารให้เหมาะสม ไม่ควรเลือกอย่างหนึ่งอย่างใดมากเกินไป

คุณจะให้อาหารเสริมที่เป็นวิตามินและเกลือแร่รวมแก่เด็กๆ ที่มีพฤติกรรมทานได้น้อยหรือเลือกทานอาหาร เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้พวกเขาหรือไม่ ถ้าใช่ อาหารเสริมประเภทใดที่แนะนำ และทำไมคะ?

จริงๆ แล้ว ไม่มีวิตามินตัวไหนที่จะผสมกันแล้วสามารถช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับเด็กๆ ได้ดีเท่ากับการทานอาหารที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ก็พอมีวิตามินสำหรับพวกเขาบ้าง ซึ่งคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อคำแนะนำที่เหมาะสม

มีคนบอกว่า กระเทียม หัวหอม สามารถช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ จริงหรือไม่คะ

มีผลการพิสูจน์ว่ากระเทียมสามารถช่วยปกป้องและลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง โดยมีการทดสอบในสัตว์ ซึ่งหลายๆ แห่งแนะนำว่าจะได้ผลใกล้เคียงกันในมนุษย์ แม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์กับมนุษย์โดยตรงก็ตาม

แล้วองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ความเครียด การนอนน้อย มีผลต่อระบบภูมิต้านทานหรือไม่คะ?

เมื่อร่างกายและจิตใจเกิดความเครียดหรือกังวล ย่อมส่งผลอย่างมากต่อระบบภูมิต้านทานแน่นอน อาการนอนไม่หลับสามารถส่งผลกระทบต่อการตอบรับของภูมิต้านทาน คุณแม่คุณพ่อต้องให้ความช่วยเหลือ โดยการหากิจกรรมเพื่อสร้างความบันเทิงและเสริมทักษะไปในตัว รวมถึงให้ความรักความอบอุ่นเพื่อให้ลูกรู้สึกถึงความห่วงใยและไม่รู้สึกกังวลใดๆ 

 

การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานอย่างไรคะ

การออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหว สามารถช่วยเสริมสร้างการตอบสนองของภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี เช่น ช่วยเสริมสร้างการทำงานของเซลล์ต่างๆ ที่มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค การทำงานของเม็ดเลือกขาว เป็นต้น 

ขอขอบคุณข้อมูลโดย ศาสตราจารย์ รานจิต เค จันทรา (Prof Ranjit K Chandra)​

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x